วิเทศสัมพันธ์และกิจการอาเซียน มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

วิเทศสัมพันธ์และกิจการอาเซียน มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • หน้าหลัก
  • สื่อสิ่งพิมพ์
    • รายงานสรุปโครงการพัฒนานักศึกษาสู่สากล 2019
      • แผนกลยุทธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร 2561-2565
    • รายงานประจำปี
      • Annual Report 2015
      • Annual Report 2016
      • Annual Report 2019
      • Annual Report 2018
      • Annual Report 2020
      • Annual Report 2021
      • Annual Report 2022
      • Annual Report 2023
      • Annual Report 2024
    • เกี่ยวกับ มรภ. กพ.
    • แนะนำการสมัครเรียน
    • รายงานโครงการตามแผนงานยุทธศาสตร์ ประจำปี 2563
    • คู่มือปฏิบัติงานหลัก เรื่อง กระบวนการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษาสู่สากล
    • รายงานโครงการ ASEAN Leadership
      • ปี 2023
  • IRAA แลกเปลี่ยนความรู้
    • ความเป็นสากลในบ้าน
    • โมเดลการเรียนรู้ในโลกหลังโควิด
    • คำศัพท์ชื่อตำแหน่งไทย-อังกฤษ
    • คำศัพท์ด้านการศึกษา
    • บอกเล่าประสบการณ์แลกเปลี่ยนในต่างประเทศ
    • วิธีป้องกันตนเองจากโควิด-19
    • นโบายและยุทธศาสตร์กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
    • บทบาทการเป็นพิธีกรมืออาชีพ
    • พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
    • ขั้นตอนการยื่นขอหนังสือรับรองจากงานตรวจคนเข้าเมือง
    • นโยบายการต่างประเทศ
    • ข้อมูลสำคัญที่ควรรู้เกี่ยวกับประเทศต่างๆ จากสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ
    • การแจ้งรายงานตัว 90 วัน
    • ตำแหน่งภาษาอังกฤษตามพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน
  • ประกันคุณภาพ
    • แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 - 2570
    • แผนกลยุทธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร 2561-2565
    • แผนยุทธศาสตร์งานวิเทศสัมพันธ์และกิจการอาเซียน พ.ศ. 2565-2568
    • แผนปฏิบัติงาน ปี 2565
    • ผลงานวิชาการ/บทความ/งานวิจัย
      • บทความวิชาการ จุดยืนคนวิเทศ
      • บทความวิชาการ วิเทศสัมพันธ์ กาลเวลาที่ต้องลอกคราบ
      • บทความวิชาการ การประเมินโครงการพัฒนานักศึกษาในต่างประเทศ
      • บทความวิชาการ บทบาทผู้นำในมหาวิทยาลัยราชภัฏกับเส้นทางสู่ความเป็นสากล
      • บทความวิจัย ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการงานวิเทศสัมพันธ์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ
    • แผนปฏิบัติงาน ปี 2566
    • แผนปฏิบัติงาน ปี 2567
    • แผนด้านการอุดมศึกษา ฉบับปรับปรุง 2566 ถึง 2570
  • เกี่ยวกับเรา
    • บุคลากร
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์
    • พันธกิจ
    • โครงสร้างงาน
    • คณะกรรมการวิเทศสัมพันธ์
  • ข้อมูลความร่วมมือ
    • ความร่วมมือด้านต่างประเทศของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
    • รายงานสรุปความร่วมมือกับวิทยาลัยการท่องเที่ยวยูนนาน
    • ผลสำเร็จในการดำเนินงานด้านการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
    • ความร่วมมือด้านการศึกษากับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
    • ข้อมูลด้านการศึกษาและความร่วมมือทางวิชาการเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบการสถาปนาความสัมพันธ์ ๗๕ ปี ทางการทูตไทย-กัมพูชา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
    • สมาคมศิษย์เก่านักศึกษาต่างชาติ มรภ. กพ.
  • ดาวน์โหลด
    • Application for Admission
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อเรา
  • Eng
  • หน้าหลัก
  • IRAA แลกเปลี่ยนความรู้


ความเป็นสากลในบ้าน

ดาวน์โหลด

ความเป็นสากลในบ้าน

เผยแพร่เมื่อ 22 เมษายน 2563 34 11,795 Share

INTERNATIONALIZATION AT HOME: ความเป็นสากล’ เบ่งบานได้จาก ‘ในบ้าน


จุดเริ่มต้นของคำว่า “ความเป็นสากล” ในประเทศไทย

           ในประเทศไทยพบว่ามักใช้ความเป็นสากลผ่านคำศัพท์ “Globalization” โดยแสดงถึงผลกระทบของการเคลื่อนย้ายเพื่อผลทางการเมืองและเศรษฐกิจ ต่อมาได้เกิดคำใหม่ว่า “โลกาภิวัฒน์” และต่อมาเกิดการใช้คำว่า “Interantionalization” ซึ่ง Jane Knight ระบุว่ามีการใช้คำว่า “Interantionalization” ในทางรัฐศาสตร์และในภาครัฐมาเป็นศตวรรษแล้ว และเริ่มนำมาใช้ในด้านการศึกษาอย่างจริงจังในต้นทศวรรษที่ 1980 โดยมักใช้คำว่า “international education” ต่อมาได้เกิดคำศัพท์ใหม่ๆ เช่น transnational, borderless และ cross-border education

          สำหรับประเทศไทยโดยสำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ สำนักปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย นวัตกรรม (สป.อว.) ได้กำหนดและใช้คำว่า “internationalization (IZN): ความเป็นสากล

ทำไมความเป็นสากลเป็นเรื่องไกลตัวในประเทศไทย

          กระบวนการสู่ความเป็นสากลในสถาบันอุดมศึกษาไทยเกิดขึ้นมานานแล้ว แต่พบว่าความเป็นสากลในประเทศไทยยังไม่ประสบความสำเร็จตามที่ควรจะเป็น ทั้งนี้เพราะ

1.      นโยบายความเป็นสากลในระดับกระทรวงขาดความต่อเนื่องและไม่ชัดเจน

2.      ความเป็นสากลเป็นนามธรรมที่ไม่สามารถเข้าใจได้ชัดเจน ทำให้ผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญหรือไม่สนับสนุนเท่าที่ควร รวมถึงการเข้าใจว่าความเป็นสากลคือการเรียนการสอนด้วยภาษาอังกฤษ การมี MOU การมีนักศึกษาต่างชาติ ฯลฯ โดยลืมคิดถึงนิยามความเป็นสากลของบริบทมหาวิทยาลัยตัวเอง

3.      ประโยชน์ที่ได้รับจากความเป็นสากลยังจำกัดอยู่กับบางเรื่องบางกลุ่ม ทำให้ทุกคนมองภาพรวมของความเป็นสากลว่าเป็นเพียง “ส่วนสนับสนุน”

4.      ความร่วมมือในการประสานการทำงานเพื่อสร้างความเป็นสากลเป็นไปแบบต่างคนต่างทำ ขาดความเข้มแข็ง ก่อให้เกิดทัศนคติคับแคบต่อความเป็นสากล นำไปสู่การไม่ให้ความร่วมมือ ทำให้ขาดพลังขับเคลื่อนในเชิงปฏิบัติและเชิงคุณภาพ

5.      ขาดการแสดงให้ประชาคมอุดมศึกษาเห็นว่า สกอ. หรือ อว. เป็นแบบอย่างที่ดีของการสร้างความเป็นสากลเพื่อแบ่งปันการดำเนินการที่เห็นผลประจักษ์อย่างแท้จริง

บทบาทงานวิเทศสัมพันธ์กับความเป็นสากล

            สถาบันอุดมศึกษาจำเป็นต้องวางบทบาทของหน่วยงานวิเทศสัมพันธ์ให้ชัดเจนในการตอบโจทย์ความเป็นสากล โดยการพัฒนานักวิเทศสัมพันธ์ให้ตรงจุด โดยเน้นการพัฒนาบุคลากรวิเทศสัมพันธ์ให้มีความสามารถโดดเด่นในการประสานภาพรวม เป็นคนที่ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก เป็นผู้สร้างและสานเครือข่ายกับพันธมิตรต่างประเทศให้เกิดเครือข่ายเชิงกลยุทธ์ นอกจากนี้บุคลากรวิเทศสัมพันธ์ยังต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการโครงการความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา บุคลากรและการติดตามผลได้อย่างมีคุณภาพ สิ่งสำคัญคือ การส่งเสริมบทบาทเชิงรุกของวิเทศสัมพันธ์ที่ควรต้องมีมากขึ้น รวมถึงความรู้และทักษะที่มีคุณภาพ

การสร้างความเป็นสากลในบ้าน

          Jenny Lee ได้กล่าวถึงความเป็นสากลในบ้าน (Internationalization at Home: IaH) ว่า หมายถึง การให้ความรู้แกนักศึกษาในมหาวิทยาลัยถึงคุณค่าของความเป็นสากลและการพัฒนาทักษะพื้นฐานสากล เช่น ความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพด้วยภาษาต่างประเทศ มีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมอันหลากหลายนอกประเทศ และมีเครือข่ายต่างประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จในสังคมโลก

          การสร้างความเป็นสากลในบ้านจึงเป็นเรื่องการปรับระบบบริหารจัดการโครงการแลกเปลี่ยนและการจัดการความรู้ไปสู่การใช้ทุกโอกาสของชีวิตทั้งในและนอกรั้วมหาวิทยาลัยให้เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยให้เต็มประสิทธิภาพที่สุด รวมถึงการปรับความเข้าใจที่ตรงกันของผู้นำระดับสูงทั้งในระดับนโยบายและมหาวิทยาลัยสามารถได้ประโยชน์จากความเป็นสากลและอยู่รอดร่วมกันได้ในโลกอนาคตได้อย่างรู้เท่าทันและมีความสุขบนความหลากหลายและความแตกต่างทางเชื้อชาติ ภาษาและวัฒนธรรม

แนวทางสู่การสร้างความเป็นสากล IaH

          ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศหนึ่งที่ศึกษาวิจัยเรื่องความเป็นสากลในบ้าน หรือ IaH อย่างเข้มข้น และให้ความสำคัญต่อความสามารถด้านต่างประเทศและการจัดการเรื่องข้ามวัฒนธรรม โดยรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ได้บรรจุเรื่อง laH เป็นนโยบายเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการอุดมศึกษาและการวิจัยตั้งแต่ปี 2558-2568 โดยเน้น 3 มิติ คือ ความเป็นสากล ความเป็นสากลเต็มรูปแบบ และความเป็นสากลของหลักสูตร โดย European Association for International Education (EAIE) ได้เสนอแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการการสร้างความเป็นสากลในบ้าน หรือ laH ไว้ดังนี้

1.      ส่งเสริมให้นักศึกษามีมุมมองที่เป็นสากลผ่านการเรียนในหลักสูตร ไม่ว่าจะได้ไปแลกเปลี่ยนต่างประเทศหรือไม่

2.      ส่งเสริม laH ไม่เฉพาะแค่วิชาเลือกหรือวิชาเฉพาะ

3.      เน้น learning outcomes ของหลักสูตรที่มีมุมมองด้านต่างประเทศ

4.      ส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมในห้องเรียน ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ การสอนและการประเมินผล

5.      สร้างโอกาสให้นักศึกษามีประสบการณ์ทางวัฒนธรรมที่แตกต่างในชุมชน

6.      ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกคนไม่เฉพาะนักวิชาการ อาจารย์ และนักวิเทศสัมพันธ์

7.      ไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษ

8.      ใช้ virtual mobility ให้เกิดการเรียน การทำกิจกรรมกับนักศึกษาในต่างประเทศเพื่อเพิ่มทักษะการสื่อสารทางสังคม

9.      สร้างความรู้สึกผูกพันที่มีความหมายให้กับนักศึกษาต่างชาติ

 

ผู้เขียนสรุป: นางสาวชฎาพร โชติรดาภาณ์ นักวิเทศสัมพันธ์

 

อ้างอิง:

พรทิพย์ กาญจนนิยต. (2019). INTERNATIONALIZATION AT HOME: ความเป็นสากลเบ่งบานได้จากในบ้าน. [Online]. Available: http://www.fulbrightthai.org/knowledge. [2563, เมษายน 22].


วิเทศสัมพันธ์และกิจการอาเซียน มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ความเป็นสากลในบ้าน. สืบค้น 22 มิถุนายน 2568, จาก https://iraa.kpru.ac.th/?page_id=255&lang=TH

ความเป็นสากลในบ้าน

  • #วิเทศสัมพันธ์และกิจการอาเซียน มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • #ความเป็นสากล
  • #บ้าน
  • #วิเทศสัมพันธ์
  • #laH

https://iraa.kpru.ac.th/?page_id=255&lang=TH

Facebook Twitter Google Plus LINE Linkedin

ข้อมูลอื่น ๆ


ความร่วมมือด้านต่างประเทศของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (KPRU International Collaboration)

ความร่วมมือด้านต่างประเทศของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (KPRU International Collaboration)

เผยแพร่เมื่อ 25 กันยายน 2568


บุคลากรวิเทศสัมพันธ์เข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันประดิษฐ์สิ่งของจากสัสดุเหลือใช้  KPRU GREEN ปี 2568

บุคลากรวิเทศสัมพันธ์เข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันประดิษฐ์สิ่งของจากสัสดุเหลือใช้ KPRU GREEN ปี 2568

เผยแพร่เมื่อ 19 มิถุนายน 2568


มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรเยือน CTU เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับประเทศเวียดนาม

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรเยือน CTU เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับประเทศเวียดนาม

เผยแพร่เมื่อ 9 มิถุนายน 2568


KPRU visited CTU in Vietnam and signed a Memorandum of Agreement (MoA) for the Exchange Program.

KPRU visited CTU in Vietnam and signed a Memorandum of Agreement (MoA) for the Exchange Program.

เผยแพร่เมื่อ 9 มิถุนายน 2568


MoU Signing Ceremony with GGC, United States

MoU Signing Ceremony with GGC, United States

เผยแพร่เมื่อ 21 พฤษภาคม 2568


ดูทั้งหมด

1. ความเป็นสากลในบ้าน

ดาวน์โหลด

โดยการใช้เว็บไซต์ของ KPRU คุณรับทราบว่าคุณได้อ่านและทำความเข้าใจ นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และข้อกำหนดในการให้บริการ ของเรา ยอมรับ

Actions, Creative, Together


วิเทศสัมพันธ์และกิจการอาเซียน  มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร 

 International Relations & ASEAN Affairs

เลขที่ 69 หมู่ที่ 1 ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000 

69 M. 1 Nakorn Chum, Muang, Kamphaeng Phet 62000
โทรศัพท์/Tel. 055-706-627


Email. kpruinter2015@gmail.com

 

ปรับปรุงเมื่อ : March 20 2024 15:44:54

© ลิขสิทธิ์เลขที่ ว1.008779 | KPRUControl Version 2.112

KPRUControl KPRULib สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
Facebook