นโบายและยุทธศาสตร์กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แถลงนโยบายและแนวคิดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานขับเคลื่อนกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ว่า ตนในฐานะ รมว.อว. มีเป้าหมายและความท้าทายในการดำเนินงาน เร่งซึ่งกำหนดไว้ 2 แนวทาง ได้แก่ ประการแรก แนวทางการแก้ปัญหาแบบเร่งด่วนที่สามารถดำเนินการให้เกิดผลสัมฤทธิภายใน 1 ปี (Quick Wins) ประกอบด้วย
1.โครงการเพิ่มทักษะบัณฑิตจบใหม่ ด้านทักษะดิจิทัลและเรียนรู้ในสถานที่ทำงานจริง โดยจะให้ทุนการศึกษากับบัณฑิตจบใหม่ จำนวน 250,000 คน ทีสมัครใจเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพพิเศษ ที่เน้นพัฒนาทักษะการใช้ดิจิทัล เทคโนโลยี หรือ Digtal Literacy โดยเป็นหลักสูตร 1 ปี จบแล้วเข้าทำงานโครงการบัณฑิตอาสาเพื่อพัฒนา Digtal Literacy ให้กับประชาชนในพื้นที่ หรือต่อยอดความรู้ไปสู่อาชีพใหม่ เน้นการปฎิบัติจริงกับภาคเอกชนที่ต้องการจ้างงานหรือรัฐวิสาหกิจชุมชน
2.Thailand Mega Hackathon หรือการเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมกันเสนอปัญหา ระดมสมองและความคิดสร้างสรรค์เพื่อหาโมเดลต้นแบบมาแก้ปัญหาให้กับประเทศ โดย อว. จะสร้างพื้นที่ในการมีส่วนร่วมที่เปิดกว้างให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง เท่าเทียม
3.Thailand Foresight Consortium หรือ การสร้างเครือข่ายในการมองอนาคต ซึ่งจะฐานของการพัฒนาทักษะในการจับสัญญาณแห่งอนาคตและมองไปในอนาคตให้แก่บุคลากรของ อว.ทุกแขนง เพื่อนำความรู้มาพัฒนาและกำหนดนโยบายหรือแผนงาน ที่สามารถตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาประเทศและตรงกับความต้อการของประชาชนมากที่สุด
4.นำพลังปัญญาเพื่อพัฒนาชาติ 1 สถาบันอุดมศึกษา 1 พื้นที่ สถาบันอุดมศึกษา ต้องตั้งเป้าหมายนำความรู้ งานวิจัยและนวัตกรรมรวมถึงพลังจากบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา เข้าไปช่วยพัฒนาชุมชนในพื้นที่ ซึ่งแต่ละสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศจะต้องมีพื้นที่รับผิดชอบต่อสังคมที่ชัดเจนและใช้ความรู้ในการช่วยเหลือประชาชนและชุมชนในพื้นที่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และ
5.เปลี่ยนคนเกษียณเป็นพลัง โดย อว.ต้องเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ สำหรับคนเกษียณหรือผู้สูงอายุต้องนำพาเข้าสู่สังคมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะงานในโลกดิจิตัลหรือทักษะงานเฉพาะที่ยังเป็นที่ต้องการสำหรับภาครัฐและเอกชน
นอกจากนั้นยังมีกลยุทฺธ์ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การดำเนินงานของกระทรวง ได้แก่ 1.การสื่อสารที่แม่นยำ 2.ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อววน.) 3.การบริหารจัดการกองทุนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ที่ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนอื่นได้ 4.การพัฒนาทัศนคติในการบริหารจัดการ 5.การตอบสนองต่อผลการดำเนินการโดยจัดทำฉากทัศน์และนโยบายทางเลือกที่เหมาะสมกับสถานการณ์
“ที่สำคัญสิ่งที่ จะต้องให้ความสำคัญในลำดับแรกของการทำงานจากนี้ คือการร่วมแก้ปัญหาจากวิกฤติโควิด–19 ที่ อว.จะต้องช่วยเหลือผู้ว่างงาน คนตกงาน อย่างเป็นรูปธรรมและเร่งด่วนที่สุดและต้องสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลด้วย” ดร.เอนก กล่าว
ที่มา: กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากลิงค์: https://www.mhesi.go.th/home/index.php/pr/news/1952-5-1?fbclid=IwAR18U2zacEeMYQi7xvK0USy6JB2zA6wuE2JJLrEo-83tUOA_ePefxCDywHk
ผู้เขียนสรุปเนื้อหา: นางสาวชฎาพร โชติรดาภาณ์ นักวิเทศสัมพันธ์
วิเทศสัมพันธ์และกิจการอาเซียน มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). นโบายและยุทธศาสตร์กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. สืบค้น 12 พฤศจิกายน 2567, จาก https://iraa.kpru.ac.th/?page_id=284&lang=TH
ข้อมูลอื่น ๆ
ความร่วมมือด้านต่างประเทศของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (KPRU International Collaboration)
เผยแพร่เมื่อ 25 กันยายน 2568